คุณสมบัติของผู้สนใจที่จะศึกษาต่อสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์
1. ควรมีพื้นฐานความรู้และชอบศึกษาในกลุ่มสาระฯ วิชาสังคมศึกษา โดยเฉพาะสาระการเรียนรู้ด้านหน้าที่พลเมือง และกฎหมาย หรือ ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ นั่นเอง
2. สนใจและติดตามข่าวสารบ้านเมืองโดยเฉพาะข่าวการเมือง ข่าวเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ข่าวเศรษฐกิจการเมือง และนโยบายของรัฐบาล โดยสามารถวิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล
3. ชอบและสนใจวิชาด้านการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ (Bureaucracy) เพื่อการพัฒนาประเทศ (Development Administration) โดยเฉพาะองค์กรที่มิได้มุ่งแสวงหากำไร (Non-Profit Organization) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชานี้สามารถนำความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือด้านการบริหารไปปรับใช้ในองค์กรธุรกิจที่แสวงหากำไรได้เช่นกัน
4. ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สหวิทยาการ เนื่องจากสาขาวิชานี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสาขาวิชาอื่นๆ มากมาย เช่น เศรษฐศาสตร์การเงิน-การคลัง การบัญชี การบริหารและการจัดการ กฎหมายปกครอง การพัฒนาสังคม การสื่อสารองค์กร จิตวิทยา และรัฐศาสตร์สาขาอื่นๆ
5. ควรมีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สถิติ และภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดี
6. ต้องมีอุดมการณ์ที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน โดยไม่ใช้กลไกของระบบราชการมากอบโกยผลประโยชน์เข้าพวกพ้อง และเข้าใจดีถึงทฤษฎีการพัฒนาประเทศ ความเสมอภาค และความยุติธรรมทางสังคม
แหล่งงานสำหรับบัณฑิตสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์
1. แหล่งงานภาครัฐ บัณฑิตสาขาวิชานี้สามารถทำงานด้านบริหาร นโยบาย และแผนงานได้ทุกหน่วยราชการ ทุกกระทรวง ทบวง กรม กอง เช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เลขานุการบริหาร นักวิชาการศึกษา ฯลฯ สำหรับผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาต่างประเทศดีก็สามารถทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ หรือ นักการทูตได้ สำหรับในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรมหาชนก็มีตำแหน่งคล้ายคลึงกับหน่วยงานราชการ
2. แหล่งงานภาคเอกชน ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า บัณฑิตสาขาวิชานี้ได้เรียนรู้ความรู้ และเครื่องมือทางการบริหารงานมากกว่าสาขาอื่นๆ ของวิชารัฐศาสตร์จึงทำให้บัณฑิตสามารถนำความรู้เทคนิคด้านการบริหารจัดการไปใช้ในการทำงานภาคเอกชนได้ดีในการบริหารงานทุกระดับของบริษัท โดยเฉพาะบัณฑิตที่มีความรู้การคำนวณ และภาษาดี ขอบข่ายงานก็ยิ่งจะกว้างขวางมากขึ้น เช่น นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์การลงทุน นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูงที่สามารถวิเคราะห์การบริหารเศรษฐกิจมหภาคได้
การศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา
บัณฑิตสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท หรือ เอก ในกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ได้เกือบทุกสาขา เช่น บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ปรัชญา ภาษาศาสตร์ จิตวิทยา นิเทศศาสตร์ ครุศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ ทุกสาขาวิชาเอก เป็นต้น
บุคคลที่มีชื่อเสียงและสำเร็จการศึกษาสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (รป.บ. (ตำรวจ)) กวาง (กมลชนก เขมะโยธิน) อู๋ (ธนากร โปษยานนท์) พี่กี้ (อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง) เม หรือ Mé (จีระนันท์ - - RS) สว.ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช ดร.รุ่ง แก้วแดง (รมช.ศึกษาธิการ) คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน (ปลัดกรุงเทพมหานคร) นางจุฑามาศ ศิริวรรณ (ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) และ ผู้ว่าราชการจังหวัดอีกมากมายทั่วประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น