วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

คณะวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 


               



ปรัชญา
ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน (พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว)
ปณิธาน
บัณฑิตวิทยาลัยการเมืองการปกครองต้องเป็น ผู้รอบรู้ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
และบริการทางวิชาการสู่สังคม
วิสัยทัศน์
มุ่งสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นนำทั้งในระดับภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติทางรัฐศาสตร์
นิติศาสตร์ กระบวนการยุติธรรม และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ค่านิยมร่วมองค์กร (Shared Values)
C - Creativity ความคิดสร้างสรรค์
O - Optimization ความมีประโยชน์คุ้มค่า
P - Prestige ความมีเกียรติภูมิ
A - Ability ความสามารถ
G - Generosity ความมีน้ำใจ
พันธกิจ
1. มุ่งผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพทั้งด้านความรู้
ด้านความสามารถ และด้านคุณธรรม
2. สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อสร้างองค์ความรู้ภายใต้บริบทระดับภูมิภาค
ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
3. ให้บริการวิชาการต่อสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ให้แก่ชุมชนและสังคม
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระดับชุมชน ท้องถิ่น
เพื่อรักษาประเพณีและค่านิยม อันดีงาม
ประวัติวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยการผนวกภาควิชารัฐศาสตร์
ศูนย์ข้อมูลการเมืองท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการจัดตั้งหลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งสังกัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าด้วยกัน
วิทยาลัยการเมืองการปกครองได้ดำเนินงานตามพันธกิจด้านการเรียนการสอน
การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันโดยวิทยาลัยการเมืองการปกครองได้วางรากฐานทางปัญญาอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดตั้งโครงการความร่วมมือต่างๆ ที่เน้นการเสริมสร้างความรู้คู่คุณธรรมและการทำงานเพื่อส่วนรวมอาทิ โครงการลงชุมชนของนิสิต โครงการติวนิสิต (Copag Tutor)
โครงการให้นิสิตริเริ่มทำกิจการ (Copag Creative) โครงการสร้างวิทยาลัยสีเขียว
(Copag Green) ตลอดจนได้จัด Copag Open Houseและ Copag Open Book เพื่อเปิดบ้านวิทยาลัยให้บุคคลภายนอกได้ทราบกิจกรรมต่าง ๆ
ของวิทยาลัย รวมทั้งการทำความตกลงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลวังแสง เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันนอกจากนี้
วิทยาลัยการเมืองการปกครองได้ทำข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันต่างๆ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้ทางวิชาการ เช่น คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ผู้แทนจากลักแซมเบิร์ก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล องค์กรพัฒนาเอกชนทางด้านกฎหมายเรือนจำจังหวัดมหาสารคามเพื่อร่วมมือทางวิชาการแลกเปลี่ยนนิสิตอาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
หลักสูตรที่เปิดสอน
ระดับปริญญาตรี
>1.)รัฐศาสตรบัณฑิต ( ร.บ.) วิชาเอก
>>1.1 การเมืองการปกครอง
>>1.2 รัฐประศาสนศาสตร์
>>1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
>2.)นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
>3.)หลักสูตรคู่ขนาน 5 ปี คือ นิติศาสตรบัณฑิตและศิลปศาสตรบัณฑิต
 (สิทธิมนุษยชนศึกษา)
>>>นบ. และศศ.บ. (สิทธิมนุษยชนศึกษา)
>4.)รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น)
: รป.บ. (การปกครองท้องถิ่น)
ระดับปริญญาโท
>1.)รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะ) : รป.ม. (นโยบายสาธารณะ)
>2.)รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) : ร.ม. (การเมืองการปกครอง)

ศูนย์บริการทางวิชาการต่างๆ ภายในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
1.) ศูนย์ศึกษาการเมืองท้องถิ่นอีสาน
2.) ศูนย์ศึกษาสิทธิมนุษยชนและสันติวิธี
3.) คลินิกนิติศาสตร์ (ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย)
4.) คลินิกรัฐศาสตร์
5.) ศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษ
6.) ห้องสมุด


ประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประวัติ


มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนพื้นที่ 197 ไร่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของ ประเทศไทย

 อันดับมหาวิทยาลัย

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในอันดับที่ 1,254 ของโลก อันดับที่ 44 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

 สัญลักษณะประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  • ตราประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ตราโรจนากร ซึ่งมีความหมายว่า ดวงตาแห่งความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมา
ภายในมีภาพสัญลักษณ์ขององค์พระธาตุนาดูน ด้านล่างเป็นสุริยรังสีที่แผ่ขึ้นจากผ้าลายขิดซึ่งอยู่เหนือคำขวัญภาษาบาลี
พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว"' หมายความว่า ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
ใบเสมา หมายถึง ภูมิปัญญา
องค์พระธาตุนาดูน หมายถึง คุณธรรมความดี
สุริยรังสี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ลายขิด หมายถึง ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งอีสาน
ความหมายโดยรวม คือ ความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นผลจากความรู้และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่นอีสาน
  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง - เทา
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความดีงาม ความอุดมสมบูรณ์
สีเทา หมายถึง ความคิด หรือ ปัญญา
สีเหลือง - เทา จึงหมายถึง การมีปัญญาและความคิดที่ดีงาม อันนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
  • วาทกรรมอัตลักษณ์ประชาคม มมส คือ ลูกพระธาตุนาดูน ดอกคูนผลิช่อ มอน้ำชี ศรีโรจนากร

รัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ คือ
รัฐศาสตร์ เป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับกระบวนการแบ่งปัน และถ่ายโอนอำนาจในกระบวนการตัดสินใจ เมื่อเปรียบเทียบกับสาขาอื่นๆแล้ว รัฐศาสตร์ ถูกจัดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราว และสถาบันที่เป็นสาธารณะ สาขานี้มักถูกแบ่งเป็นหลายๆด้าน เช่น รัฐศาสตร์ เปรียบเทียบ รัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ปรัชญาทางรัฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ระดับชาติ รวมไปถึงระเบียบวิจัย นอกจากนั้นยังเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องการบริการรัฐ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะสหวิทยาการ กล่าวคือต้องอาศัยศาสตร์หลายๆศาสตร์เข้ามาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่ออธิบายภาวะต่างๆทางสังคมที่เกิดขึ้น


รัฐศาสตร์ มีสาขาอะไรกันบ้าง


- สาขาการปกครอง ศึกษาเกี่ยวกับหลักทฤษฏีการเมือง ระบบการเมือง พฤติกรรมทางการเมือง การเมืองเปรียบเทียบ การปกครองของประเทศต่างๆที่สำคัญ


- สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศของกลุ่มต่างๆ องค์การและกฏหมายระหว่างประเทศ สาขาสัมคมวิทยาและมนุษยวิทยา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ ภายใต้โครงสร้าง และการจัดระเบียบแต่ละสังคมที่แตกกต่างกันตามลักษณธของวัฒนธรรม


- สาขาบริหารรัฐกิจ [รัฐประศาสนศาสตร์] ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารองค์การภาครัฐ การวางแผนและการดำเนินนโยบายการบริหารต่างๆ เช่นการบริหารงานบุคคล การบริหารองค์การ การบริหารงานคลัง และงบประมาณ การวางแผนและบริหารโครงการวางแผนกำลังคน นโยบายสาธารณะ และการบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นต้นรัฐศาสตร์ เรียนถึงปริญญาเอกเลยได้ไหม.. ได้ครับ..การเรียนการสอนมีตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงระดับปริญญาเอก โดยในระดับปริญญาตรีศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การปกครองระหว่างประเทศ และบริหารรัฐกิจ ส่วนในระดับปริญญาโทขึ้นไปก็จะเน้นไปที่การเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร การบริการจัดการสาธารณะ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


ความต่างของคณะรัฐศาสตร์ VS รัฐประศาสนศาสตร์


- รัฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของรัฐ อำนาจรัฐ โครงสร้างทางอำนาจ ความสัมพันธ์ทางอำนาจภายในรัฐ การเมืองการปกครอง การบริหารประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น


- รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในภาครัฐโดยบูรณาการความรู้จากหลายๆศาสตร์มาใช้ในการบริหารจัดการ ทั้งรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และสังคมศาสตร์อื่นๆ จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นสหวิทยาการสังคมศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะเรียกแตกต่างกัน เช่น คณะรัฐศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ โดยขึ้นอยู่กับการเน้นหนักในสาขาวิชาว่ามุ่งเน้นทางใดมากกว่ากัน แต่ทั้งรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ ต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก


สำหรับแนวโน้มปัจจุบัน รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หลายมหาวิทยาลัยจึงตั้งชื่อคณะว่า รัฐประศาสนศาสตร์ แทนที่จะใช้ว่า รัฐศาสตร์ หรือบางมหาวิทยาลัย รัฐประศาสนศาสตร์ ก็เป็นเพียงสาขาหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์ เช่นจุฬาฯ ส่วนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเรียกสาขาเดียวกันนี้ว่าบริหารรัฐกิจ


จบคณะรัฐศาสตร์ไปทำงานอะไร


ปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่การฑูต พนักงานคดีปกครอง โดยรัฐประศาสนศาสตร์ สามารถเลือกงานวิเคราะห์นโยบาย และแผนงานวิเคราะห์งบประมาณ งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือทำงานภาคเอกชนก็จะมีทางเลือกต่างๆมากกว่า หรือจะทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำงานเป็นนักการเมืองท้องถิ่น หรือข้าราชการประจำ เช่น ปลัด อบต. ปลัดเทศบาล นักวิชาการ ฯลฯ ถ้าสนใจบริหารรัฐกิจ ก็ทำงานในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เช่น งานวิเคราะห์ นโยบาย และแผนงานวิเคราะห์งบประมาณ งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ งานบริหารทั่วไป เป็นต้น

ความสำคัญของการบริหารรัฐกิจ

ความสำคัญของการบริหารรัฐกิจ (public administration)
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (social animals) ซึ่งต้องการอยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก ความต้องการพื้นฐาน (basic needs) ของมนุษย์นอกจากต้องการปัจจัยสี่ คือ อาหาร เสื้อผ่า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ฯลฯ มาสนองความต้องการของร่างกาย (physiological needs) แล้ว ยังต้องการความมั่นคงปลอดภัย (safety หรือ security needs) ความต้องการมีพวกพ้องหรือการเป็นที่ยอมรับของสังคม (social needs) ซึ่งความต้องการพื้นฐานเหล่านี้เป็นพลังผลักดันให้มนุษย์อยู่รวมกันเป็นครอบครัว และขยายเป็นเผ่า (tribe) เป็นชาติ เป็นชุมชนขนาดใหญ่ จนถึงเป็นรัฐหรือประเทศ ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของรัฐหรือประเทศ คือการมีประชากรจำนวนหนึ่งมาอาศัยอยู่ร่วมกัน มีดินแดนอาณาเขตที่แน่นอน มีเอกราชและอธิปไตยในการปกครองตนเอง และมีการปกครองอันเป็นระเบียบเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนที่อยู่ร่วมกันนั้น ซึ่งการอยู่ร่วมกันของคนจำนวนมากในลักษณะของรัฐหรือประเทศทำให้มีการนำเอาแนวความคิดทางการเมืองหรือปรัชญาทางการเมืองที่ว่าควรจะมีรูปแบบการปกครองอย่างไรเพื่อให้คนในแต่ละรัฐแต่ละประเทศได้มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขมากที่สุดมากำหนดเป็นระบบการปกครองในลักษณะต่าง ๆ กัน มีการวางระเบียบกฎเกณฑ์และมาตรการต่าง ๆ เพื่อความสงบเรียบร้อยและความสะดวกสบายสงบร่วมเย็นของประชาชนในประเทศ
ในระบบการปกครองทั่ว ๆ ไป จะมีการกำหนดเอาไว้ว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากที่ใดและใครเป็นผู้ใช้ โดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายหลักหรือกฎหมายแม่บทในการปกครองประเทศดังกล่าว
การปกครองในระบบประชาธิปไตยนั้นนิยมแบ่งแยกการใช้อำนาจสูงสุดใจการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตย (sovereignty) ออกเป็น 3 สาขา คืออำนาจในการออกกฎหมายหรืออำนาจนิติบัญญัติ (legislative power) อำนาจบริหาร (executive หรือ administrative power) และอำนาจตุลาการ (judicial power) หรืออำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย
อำนาจนิติบัญญัติ (legislative power) นำมาใช้ในการออกกฎหมายในลักษณะต่าง ๆ สถาบันที่รับผิดชอบในการออกกฎหมายคือ รัฐสภาอันประกอบด้วยสมาชิกสภา ซึ่งได้รับเลือกเป็นตัวแทนมาจากประชาชนหรือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน จะทำหน้าที่พิจารณาว่ากฎหมายฉบับใดเกี่ยวกับเรื่องใดสมควรจะนำออกใช้บังคับแก่ประชาชนหรือไม่และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่นำออกใช้โดยผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของฝ่ายนิติบัญญัติแล้วนั้น ฝ่ายบริหารจะได้นำไปใช้ในการบริหารต่อไป
อำนาจตุลาการ (judicial power) นั้น เป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายเมื่อมีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายมีกรณีพิพาทระหว่างเอกชนเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาที่จะใช้อำนาจอิสระในการพิจารณาพิพากคดีตามพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายที่วางไว้เป็นหลัก ประกอบกับดุลพินิจของตนเอง
อำนาจบริหาร (executive หรือ administrative power) นั้น หมายถึงการจัดดำเนินกิจการของรัฐโดยมีวัตถุประสงค์ (objectives) มุ่งในการจัดทำบริการสาธารณะ (public services) ในด้านต่าง ๆ สอนงความต้องการส่วนรวมของประชาขนซึ่งแยกออกได้เป็น 2 ประการ คือความต้องการได้รับความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ และความต้องการได้รับความสะดวกในการใช้ชีวิตแต่ละวัน

คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลทั้งชุดได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารนี้ ประกอบไปด้วยหัวหน้าคณะ คือนายกรัฐมนตรีซึ่งปกติคือหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเลือกตั้งสมาชิกของพรรคเข้ามาเป็นสมาชิกรัฐสภามากที่สุด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากพรรคการเมืองดังกล่าวให้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีร่วมคณะทั้งชุดจะร่วมกันพิจารณากำหนดนโยบาย (policy) หรือแนวทางกว้าง ๆ ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นว่า จะจัดดำเนินงานสาธารณะเพื่อสนองตอบต่อความต้องการส่วนรวมของประชาชนทั้งประเทศได้อย่างไร และนำเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติคือรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยตัวแทนของประชาชนเพื่อขอความไว้วางใจ เมื่อรัฐสภาให้ความไว้วางใจแล้ว ต่อจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่ละคนจึงรับเอานโยบายแต่ละด้านจากรัฐบาลไปควบคุมการปฏิบัติดำเนินงานของแต่ละกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อความต้องการของประชาชน
ในการดำเนินงานของฝ่ายบริหารในแต่ละกระทรวง จะมีผู้ปฏิบัติงานสองฝ่ายที่จะต้องร่วมมือกัน คือฝ่ายการเมืองซึ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งตามวาระหรือตามวิถีทางการเมืองมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งอันได้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการ เลขานุการรัฐมนตรี ฯลฯ ฝ่ายหนึ่ง และบรรดาฝ่ายประจำในแต่ละกระทรวง ตั้งแต่ข้าราชการประจำสูงสุดคือปลัดกระทรวงลงไปจนถึงอธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หัวหน้าแผนก ข้าราชการและลูกจ้างทั้งหลาย ซึ่งเป็นตัวจักรกลสำคัญในการปฏิบัติงานให้บริการถึงมือประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล ฝ่ายประจำเข้ามาดำรงตำแหน่งโดยยึดเป็นอาชีพและโดยผลการสอบแข่งขันสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกตามตัวบทกฎหมายที่กำหนดไว้ และมีประสบการณ์ในการทำงาน มีความรู้ความสามารถชำนาญในงานประจำที่ปฏิบัติอยู่







การทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำนั้น ฝ่ายการเมืองซึ่งเป็นผู้ควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายที่วางไว้ จะต้องขอความร่วมมือปรึกษาหารือ ขอคำแนะนำลู่ทางในการปฏิบัติจากข้าราชการประจำระดับสูงอันได้แก่กระทรวง และอธิบดีและให้ความไว้วางใจในการดำเนินงานของข้าราชการประจำ ส่วนฝ่ายประจำนั้นทุดคนจะต้องมีธรรมะในการปฏิบัติงานในฐานะที่เป็นข้าราชการว่าจะต้องไม่นำเอาความคิดเห็นส่วนตัวทางการเมืองเข้ามาใช้ในการทำงาน จะต้องทำงานให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนและนโยบายของรัฐบาลแต่ละชุดที่ที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศ และปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาตามระเบียบวินัยของข้าราชการที่มีอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้นโยบายของรัฐบาลแต่ละชุดที่ตั้งไว้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายโดยมีข้าราชการประจำทั้งหลายเป็นจักรกลที่ช่วยให้นโยลายดังกล่าวบรรลุผล โดยไม่นำเอาความคิดเห็นส่วนตัวทางการเมือง ความชอบหรือไม่ชอบรัฐบาลแต่ละชุด มาเป็นเครื่องขัดแย้งไม้ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติราชการแต่ะอาจจะให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ สถิติข้อมูลข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในการทำงานเสนอให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับชั้นจนถึงฝ่ายการเมืองซึ่งคุมนโยบายอยู่จะได้เป็นเครื่องประกอบการพิจาณราแก้ไขปรับปรุงนโยบายที่กำหนดไว้เดิมให้ทันสมัยและสามารถนำมาใช้ปฏิบัติงานให้เกิดผลแต่ประชาชนได้จริงตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ โดยอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายประจำ
จะเห็นได้ว่าการเมืองซึ่งเป็นเรื่องของการที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อความมั่นคงและความก้าวหน้าของประเทศชาติ รวมทั้งความผาสุกของประชาชน โดยกำหนดแนวนโยบายการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กับการบริหารซึ่งเป็นเรื่องที่ข้าราชการทั้งหลายที่ข้าราชการการเมือง และข้าราชการประจำร่วมมือกันปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนตามแนวนโยบายที่ตั้งไว้ให้ได้ผลดีถึงมือประชาชนมากที่สุดนั้น เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินไปด้วยกันแยกจากกันไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้แล้วไม่มีการบริหารใดที่จะปลอดจากการเมืองได้ ทั้งนี้เพราะว่าการบริหารรัฐกิจจะเกิดขึ้นไม่ได้ในสูญญากาศทางการเมือง (public administration never exists in political vacuum) หรือตามที่ศาสตราจารย์ Dimock ได้เขียนไว้ว่า การเมืองและการบริหารเปรียบดังสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน (politics and administration are the two sides of a single coin)
ได้มีการคิดค้นว่าทำอย่างไรจึงจะนำเอาทรัพยากร (resources) ที่มีอยู่ คือ คน เงิน และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ มาจัดทำบริการให้แก่ประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดตามนโยบายของรัฐบาลที่วางไว้ จุดเริ่มต้นได้เริ่มมาจากทางด้านธุรกิจเอกชนที่ต้องการจะให้การดำเนินงานของตนได้ผลดีมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะการประกอบธุรกิจในด้านต่าง ๆ ขยายกว้างขวางขึ้นทั้งในด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ฯลฯ ดังนั้น จึงได้มีการคิดหาหลักการจัดดำเนินงานโดยนำเอาทรัพยากรทั้งหลายมาใช้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด มีการวางมาตรฐาน กฎเกณฑ์ จัดออกมาเป็นแบบระบบ (system) ซึ่งสามารถนำหลักการไปใช้ได้ในการบริหารทั่วไปทั้งของรัฐและเอกชน และเป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่งทางการบริหารงานเรียกได้ว่าเป็นทั้งหลักวิชา และหลักการดำเนินงานทางการบริหาร (administration หรือ management) ดังที่ได้ทำความเข้าใจกันมาแล้ว

ความหมายของการบริหารรัฐกิจ

ความหมายของ การบริหารรัฐกิจ” (Public Administration)


            Felix A. Nigro ได้ให้คำนิยาม (definition) ของคำว่า “Public Administration” ไว้ว่า หมายถึง
1.พลังของกลุ่มที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันในหน่วยงานของราชการ
2.เป็นการดำเนินงานที่ครอบคลุมการใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 สาขา คืออำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างอำนาจทั้งสามนั้น
3.มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายของรัฐ และดังนั้นจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง
4.มีความแตกต่างในลักษณะที่สำคัญหลายประการจากการบริหารงานธุรกิจของเอกชน
5.มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับบรรดากลุ่มธุรกิจเอกชน (private groups) และบุคคลต่าง ๆ (individual) ในการจัดทำบริการในด้านต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน (community)

White ได้ให้นิยามความหมายอย่างกว้างที่สุดว่าการบริหารรัฐกิจนั้นประกอบด้วยการปฏิบัติการทั้งปวงซึ่งกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผลสำเร็จหรือนำมาบังคับใช้ได้ผล

Simon ได้ให้หมายความไว้ว่า การบริหารรัฐกิจในความหมายที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปนั้น หมายถึงกิจกรรมทั้งปวงของฝ่ายบริหารไม่ว่าจะเป็นการปกครองส่วนกลาง การปกครองมลรัฐ หรือการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สำคัญก็คือไม่รวมเอางานของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการเข้าไว้ด้วย



จากความหมายของนักวิชาการดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่าการบริหารรัฐกิจ (public administration) นั้น เป็นการดำเนินงานของทางราชการเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐที่เอาการใช้อำนาจนิติบัญญัติและตุลาการเข้าไว้ด้วย (แต่มีแนวความคิดของนักวิชาการบางคน เช่น Nigro เห็นแตกต่างออกไปจาจากนักวิชาการอื่นในเรื่องนี้)

Public Administration ในฐานะที่เป็นศาสตร์ (Science) และในฐานะที่เป็นศิลป์ (Art)
คำว่า public administration นั้น อาจจะมองได้เป็น 2 ด้าน คือมองในด้านของการปฏิบัติงาน (public administration as an activity) เรียกว่าเป็นการบริหารราชการ การบริหารรัฐกิจ การบริหารสาธารณสุข หรือการบริหารสาธารณะก็เรียก กับมองในด้านของการเป็นสาขาวิชาการ (public administration as a field of study) ซึ่งหมายเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หรือวิชาการบริหารรัฐกิจ อันเป็นวิชาที่ว่าด้วยการบริหารงานของรัฐ
เมื่อมองในด้านของการเป็นวิชาการนั้น public administration เป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่งเรียกว่าวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือวิชาการบริหารรัฐกิจ ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการบริหารงานของรัฐ เป็นศาสตร์หรือวิชาการ (science) อันรวบรวมเป็นระบบ (systematic) มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้และนำถ่ายทอดให้ความรู้กันได้
เมื่อมองในด้านของการปฏิบัติงาน public administration หรือการบริหารราชการ การบริหารรัฐกิจ การบริหารสาธารณกิจ หรือการบริหารสาธารณะ หมายถึงการใช้ศิลปะ (art) ในการอำนวยงาน จัดให้มีการร่วมมือประสานงาน และควบคุมคนจำนวนมากเพื่อให้ได้ผลงานบรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์บางประการที่ตั้งไว้ โดยนักบริหารจะต้องใช้ความสามารถที่จะนำเอาทรัพยากรในการบริหารมาใช้ในระบบการบริหารเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงคืที่ต้องการ คือการทำให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผลสำเร็จเป็นจุดหมายปลายทาง ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ (experience) และทักษะ (skills) ของนักบริหารแต่ละคนเข้ามาเป็นเครื่องช่วย
public administration แม้จะแยกมองได้ว่าเป็นศาสตร์ (science) และเป็นศิลป์ (art) ก็ตาม แต่ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง เพราะการบริหารรัฐกิจจะมีประสิทธิภาพ ถ้าหากว่านักบริหารมีความรู้ในวิชาการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์อันจะช่วยให้เกิดความฉลาดปราดเปรื่อง (intelligence) ในการบริหารงาน โดยธรรมชาติแล้วไม่ว่าจะมีคุณลักษณะของนักบริหารอยู่อย่างเลอเลิศหรือไม่ก็ตาม การศึกษาถึงวิธีการบริหารงานที่ถูกต้องจะช่วยให้เป็นนักบริหารที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยนำเอาหลักวิชการไปประยุตก์หรือปรับใช้กับการปฏิบัติงานของตนให้ผลงานมีคุณค่ายิ่งขึ้น อันเรียกได้ว่าเป็นผู้มีศิลป์ในการบริหาร

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่

            แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ เป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการบริหารระบบราชการไทยในปัจจุบัน เป็นแนวคิดที่พัฒนาสืบเนื่องมาจากแนวคิดคิดการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่หรือ New Public Administration (New PA.)


กล่าวคือหลังจากที่มีการใช้แนวทาง การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New PA.) มาตั้งแต่ปี 1968 โดยประมาณ พบว่ามีผลทำให้ระบบราชการเติบใหญ่มากขึ้น เพราะจุดเน้นของ New PA คือการลงไปสร้างบริการสาธารณะให้กับประชาชนให้ทั่วถึงมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาหลายประการโดยเฉพาะความล่าช้าของการทำงานในระบบราชการ


ขณะเดียวกันในเวลานั้นสภาพของการแข่งขันระหว่างประเทศได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ขณะที่ระบบราชการยังเป็นระบบผูกขาดทำให้ขาดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากระบบราชการมีต้นทุนสูง ทำให้ภาพรวมในการบริหารงานอยู่ในลักษณะที่เรียกว่ามีประสิทธิภาพต่ำ ซึ่งต่างจากภาคเอกชนและประชาชนที่เวลานั้นมีความเติบโต แข็งแรงมากขึ้น


ทั้งหมดนี้กลายเป็นแรงผลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากแนวคิดแบบ New PA มาเป็น New PM ประมาณปี 1980 ซึ่งเป็นแนวคิดหลักที่นำมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นแนวทางในการปฏิรูประบบราชการของไทยด้วย


ทั้งนี้หลักการของ New Public Management ประกอบไปด้วย


1.การสร้างการบริการที่มีคุณภาพแก่ ประชาชน โดยภาครัฐจะต้องหันมาสร้างบริการที่รวดเร็ว โปร่งใส และสร้างความประทับใจให้กับประชาชนอันเป็นเสมือนลูกค้า


หลักการข้อนี้ถูกนำมาใช้กับประเทศไทยตั้งแต่ ปี 2532 โดยมีการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้บริการของรัฐปี 2532 เช่นการกำหนดว่าในการขอรับบริการของประชาชนในเรื่องต่างๆจะต้องใช้เวลานานแค่ไหน การจัดระบบคิวในการติดต่อราชการ การจัดระบบนัดล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ประชาชนไปคอยเสียเวลาที่หน่วยราชการอีกต่อไป


เราจึงพบว่าในปัจจุบันข้าราชการให้บริการประชาชนด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใจมากขึ้น ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น สะดวกมากขึ้น เช่นสามารถทำบัตรประชาชนที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปที่ภูมิลำเนา


2.สนับสนุนให้ลดการควบคุมจากส่วนกลางและเพิ่มอิสระในการบริหารงานให้แก่หน่วยงานมากขึ้น หรือเน้นการกระจายอำนาจ ผ่อนคลายกฎระเบียบให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ


ดังเราจะพบว่าเวลานี้หน่วยงานระดับล่างของไทยมีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น


3.New PM ให้ความสำคัญกับผลการปฏิบัติงาน หมายถึงเน้นการวัดผลการทำงานว่าประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน


แนวทางนี้ถูกนำมาใช้ในการบริหารระบบราชการไทยอย่างเข้มข้นมากขึ้น ดังจะพบว่าข้าราชการและหน่วยงานทุกหน่วยงานจะต้องจัดระบบประเมินผลงานของทั้งระดับบุคลและระดับหน่วยงาน มีการกำหนดตัวชี้วัดที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งมีการให้ผลตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานจากเดิมที่อาจจะให้ตามลำดับอาวุโสและอายุการทำงาน


นอกจากนี้ในประเทศไทยเรายังมีการปรับเปลี่ยนให้มีการพิจารณาความดีความชอบปีละ 2 ครั้ง มีการให้รางวัลในระดับองค์การ เช่นมีโบนัสหรือเงินเดือนเดือนที่ 13 สำหรับหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น มีการให้รางวัล Priministor Award เป็นต้น


4.การสร้างระบบสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้บุคคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และยังสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานมากขึ้น


หลักการในข้อนี้ก็ถูกนำมาใช้ในการบริหารระบบราชการไทยเช่นกัน เช่นมีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติ มีการทำบัตรประชาชนแบบใหม่ที่เรียกว่า Smart Card


5.การจัดการภาครัฐแนวใหม่สนับสนุนให้มีการเปิดกว้างในการแข่งขัน หลักการในข้อนี้เกิดจากการที่รัฐบาลมีภารกิจมากจนเกินไป เข้าไปมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจมากเกินไปและไม่มีประสิทธิภาพ New PM จึงเสนอว่ารัฐจะต้องยอมรับเรื่องของการแข่งขัน


การแข่งขันในที่นี้จะต้องมีความเสรี เป็นการแข่งขันที่จะให้เอกชนเข้ามาปฏิบัติงานในส่วนที่รัฐเคยทำและไม่มีประสิทธิภาพ เช่นการจ้างเหมา การให้เช่า หรือแม้กระทั้งการแปรรูป


การแข่งขันในส่วนนี้จะเป็นการแข่งขันระหว่างภาครัฐด้วยกัน หรือระหว่างรัฐกับเอกชนก็ได้


ในประเทศไทยหลักการข้อนี้ถูกนำมาใช้อย่างมากเช่นกัน เช่นการเปิดให้มีการแข่งขันในกิจการโทรศัพท์จากเดิมที่ผูกขาดด้วยหน่วยงานของรัฐ หรือในธุรกิจการบินที่เวลานี้มีสายการบินเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนมีโอกาสเดินทางในราคาที่ถูกลง หรือในกิจการเกี่ยวกับการขนส่งเช่นการตรวจสภาพรถจากเดิมที่ผูกขาดด้วยสำนักงานขนส่งก็เปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขัน


การที่มีการแข่งขันมากขึ้นทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้บริการในด้านต่างๆเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันประชาชนก็จะได้รับบริการในราคาที่ถูกลงและได้รับความพึงพอใจมากขึ้น


นั่นคือหลักการของ New PM ที่มีผลอย่างมากต่อการปรับเปลี่ยนการบริหารงานภาครัฐของไทยมาสู่การจัดการแบบใหม่ รวมทั้งการปฏิรูประบบราชการของไทยเองก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดดังกล่าวเช่นกัน


2.แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี (Good governance)


เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่มีอิทธิผลและมีบทบาทต่อการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน รวมทั้งมีอิทธิพลต่อการปฏิรูประบบราชการของไทยด้วย


สำหรับหลักการของ Good governance นักวิชาการจะกำหนดไว้หลากหลายในที่นี้มองว่ามีหลักการที่สำคัญคือ


-ความโปร่งใส หมายถึงระบบราชการจะต้องทำงานอย่างโปร่งใส พร้อมให้ประชาชนตรวจสอบได้ตลอดเวลา


-ความรับผิดชอบ หมายถึงในปัญหาใดๆที่เกิดขึ้นจะต้องมีผู้รับผิดชอบหรือมีเจ้าภาพทีชัดเจน


-การใช้หลักนิติธรรม หมายถึงการทำงานของระบบราชการจะต้องคำนึงถึงหลักกฎหมาย หลักการนี้จะทำให้ประชาชนได้รับความเสมอภาคจากการบริการของรัฐ


-ความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การทำงานของระบบราชการจะต้องคำนึงถึงผลของการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและมีต้นทุนในการทำงานที่ต่ำที่สุดด้วย





 
แนวคิดดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการบริหารระบบราชการไทยโดยมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักการธรรมมาภิบาลในภาครัฐ
เป้าประสงค์ในการพัฒนาระบบราชการไทย


ถ้าพิจารณาจากเป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการไทยก็จะพบว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ กล่าวคือ


เป้าประสงค์แรก การพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น


ในเรื่องนี้มีการกำหนดตัวชี้วัดต่างๆเช่น


1.ประชาชนร้อยละ 80 ต้องมีความพึงพอใจในการรับบริการ เวลานี้หน่วยราชการทุกหน่วยจึงต้องมีการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน


2.ต้องลดระยะเวลาและขั้นตอนในการปฏิบัติให้ลดลงให้ได้ร้อยละ 50 ภายในปี 2550 (เช่นบริการที่เคยใช้เวลา 30 นาที่จะต้องลดให้เหลือ 15 นาที )
เป้าประสงค์ที่สอง คือการลดภารกิจและขนาดให้มีความเหมาะสมก็มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนเช่นกัน คือ


1.จะต้องลดภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจหลัก (Non Core Function) ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ภายในปี 2550 อาจจะทำโดยการถ่ายโอน การจ้างเหมา


2.หน่วยราชการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 จะต้องทำตามเจตนารมณ์ตามมาตรา 3/1 ของ พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือตามพระราชกฤษฎีกาที่ประกาศใช้เมื่อปี 2546 ซึ่งมีการกำหนดตัวชี้วัดในการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างชัดเจน


3.จะต้องมีการยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ไม่น้อยกว่า 100 ฉบับภายในปี 2550


4.จะต้องรักษาสัดส่วนเงินงบประมาณแผ่นดินต่อรายได้ประชาชาติไม่ให้เกินร้อยละ 18 ในช่วง 5 2546-2550


5.ลดจำนวนข้าราชการลงให้ได้ร้อยละ 10 ภายในปี 2550 พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพของกำลังคน (เวลานี้ข้าราชการพลเรือนมี 3 แสนกว่าคน การลด 10 % ถือว่าน้อยมาก)


เป้าประสงค์ที่สาม คือการยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานของการทำงานให้อยู่ในระดับสูงเทียบเท่าเกณฑ์สากล คือต้องปรับปรุงการทำงานให้ได้มาตรฐาน เช่นโรงพยาบาลก็จะมีมาตรฐานที่เรียกว่า HA


ข้าราชการจะต้องพัฒนาขีดความสามารถหรือพัฒนาสมรรถนะหลัก โดยหน่วยราชการร้อยละ 90 จะต้องได้รับการพัฒนาการให้บริการ หรือสามารถดำเนินการในรูปของรัฐบาลอีเล็กทรอนิกส์


เป้าประสงค์ที่สี่ ที่เน้นการเป็นรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย จะเน้นเรื่องความโปร่งใส เวลานี้ทุกหน่วยราชการก็จะดำเนินการตามนโยบายประเทศไทยใสสะอาด ส่วนราชการจะต้องมีการดำเนินการที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหน่วยงาน มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน เช่น


ปัญหาความขัดแย้งและข้อร้องเรียนระหว่างหน่วยงานกับประชาชนจะต้องเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี (แต่เวลานี้คดีที่อยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองมีจำนวนมาก) การมีคดีความมากๆสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินงานของระบบราชการยังไม่มีความราบรื่น มีความขัดแย้ง


สรุป ทุกวันนี้การจัดการภาครัฐ จึงเป็นบริหารรัฐกิจยุคใหม่ ทั้งเรื่องของการบริหารงาน บริหารคน และบริหารเงินโดยมีลักษณะทีสำคัญคือ


-บริหารคนโดยยึดคนเป็นเป็นศูนย์กลาง พัฒนาคน ทั้งกาย จิตใจ สติปัญญา


-บริหารงาน โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม บริหารงานท่ามกลางเงื่อนไขที่ยืดหยุ่น บริหารงานในลักษณะงานเฉพาะกิจ การจัดองค์การต้องเป็นองค์การแบบ Organic ไม่ใช่ Mechanic


-บริหารเงิน โดยโปร่งใส กระจายอำนาจ


หรือการบริหารราชการทุกวันจะเป็นแบบ บริหารงาน บริหาร และบริหารเงิน ในเชิงคุณธรรม จริยธรรม แต่ ยังไม่ทิ้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการบริหารงาน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากแนวคิด New Public Management และ Good Governance นั่นเอง

การบริหารการพัฒนา

การบริหารการพัฒนา
มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ


1.การบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)




2.การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)


 




กล่าวคือเพื่อให้โครงการพัฒนาประสบความสำเร็จ จะต้องมีการปรับปรุงระบบบริหารหรือการพัฒนาระบบบริหารของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนา
การพัฒนาระบบบริหาร จะทำใน 3 ส่วนคือ


-การพัฒนาโครงสร้างการบริหาร
-การพัฒนากระบวนการในการบริหาร
-การพัฒนาพฤติกรรมในการบริหาร


ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานหรือองค์การที่ทำหน้าที่ในด้านการพัฒนา มีทั้งโครงสร้าง กระบวนการการบริหาร และมีพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการนำนโยบายการพัฒนาไปปฏิบัติ


ทั้งนี้การพัฒนาการบริหารอาจจะเรียกได้หลายอย่าง เช่น


-Administrative Reform การปฏิรูปทางการบริหาร
-Reorganization การจัดองค์การใหม่
-Organization Development การพัฒนาองค์การ
-Administrative Improvement การปรับปรุงการบริหาร
-Organization Improvement การปรับปรุงองค์การ
-Revitalization การพัฒนาตนเองใหม่




การบริหารเพื่อการพัฒนา (A of D) ประกอบด้วย


-การบริหารโครงการพัฒนา หมายถึงการแปลงนโยบายการพัฒนาออกมาเป็นโครงการและกิจกรรมการพัฒนาให้ชัดเจน


-การพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึงการเพิ่มรายได้ของประชาชนให้สูงขึ้น ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมากขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องวางแผน ดำเนินการตามแผน และประเมินผล


-การพัฒนาการเมือง เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของชาติ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจการของบ้านเมือง


-การพัฒนาเมือง ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมต่างๆ จึงต้องทำให้เมืองมีความพร้อมในการรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม


-การพัฒนาชนบท เพื่อพัฒนาคนในชนบทให้หลุดพ้นจากความยากจน การไม่รู้หนังสือ และความเจ็บป่วย พัฒนาให้คนในชนบทพึ่งตนเองได้


-การพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นเครื่องมือของภาครัฐในการสร้างบริการให้ประชาชน


-การพัฒนาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เน้นการพัฒนาที่ดีจากมิตรประเทศ องค์การระหว่างประเทศ


ความช่วยเหลือจากต่างประเทศอาจจะอยู่ในรูปของเงินกู้ เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า




องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาจะเป็นไปตามรูป การพัฒนาประเทศ


การบริหารเพื่อการพัฒนา (A of d )


-การบริหารโครงการพัฒนา


-การพัฒนาเศรษฐกิจ


-การพัฒนาสังคม


-การพัฒนาทางการเมือง


-การพัฒนาเมือง


-การพัฒนาชนบท


-การพัฒนารัฐวิสาหกิจ


-การพัฒนาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ


การพัฒนาการบริหาร(D of A)


-โครงสร้าง


-กระบวนการ /เทคโนโลยี


-พฤติกรรม


การบริหารการพัฒนา ( DA)




สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนา


สิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสนใจคือ ในการบริหารการพัฒนาจะมีสภาพแวดล้อมมาเกี่ยวข้อง และส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการพัฒนา


สิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้แก่


1. สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาจากภายนอกประเทศ ได้แก่


-ประชากร ดูจำนวน คุณภาพ การศึกษาของประชากร


-เทคโนโลยีทั้งทางกายภาพและชีวภาพที่มีอยู่ในนอกประเทศเพราะไม่นานจะถ่ายทอดมาสู่ประเทศเรา


-สิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม เช่น การมีองค์การในรูปแบบใหม่ ๆ การสร้างกลุ่มสังคมกลุ่มใหม่ ๆ


-อุดมการณ์


2. สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาจากภายในประเทศ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป้าหมาย


3. สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาภายในองค์การ หมายถึง ปฏิกิริยาโต้ตอบหรือความขัดแย้งระหว่างองค์การกับบุคคลในองค์การ เช่น


-องค์การมีเป้าหมายอย่างหนึ่งแต่บุคคลในองค์การกลับมีเป้าหมายขัดกับเป้าหมายขององค์การ


-องค์การมอบหมายบทบาทที่ขัดกับบุคลิกภาพของผู้ปฏิบัติงานนั้น ๆ เช่น มอบหมายงานประชาสัมพันธ์ให้กับคนที่มีนิสัยชอบเก็บตัว


-ความขัดแย้งระหว่างความคาดหวังขององค์การกับความต้องการส่วนบุคคล องค์การมีความคาดหวังอย่างหนึ่งแต่คนกลับต้องการอีกอย่างหนึ่ง เช่น องค์การคาดหวังว่าจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมแต่คนในองค์การกลับอยากได้ประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ จากสังคม
องค์การและการจัดการ (อ.รวิภา และ อาจารย์ชลิดาสอน)


องค์การ หมายถึง หน่วยในการบริหารงาน ที่จะทำหน้าที่ในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การ ในองค์การจะต้องประกอบด้วย


-เป้าหมาย (Goal)


-บุคคลอย่างน้อย 2 คนที่มาทำงานร่วมกัน


-มีปฏิกริยาระหว่างกัน และมีรูปแบบแห่งความสัมพันธ์


การจัดการ หมายถึง ความพยายามร่วมกันของมนุษย์ในการจะทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และก่อให้เกิดความพอใจ ปัจจุบันวัตถุประของการบริหารยังรวมถึง ความยุติธรรม ความเสมอภาค และการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วย


พัฒนาการของทฤษฎีองค์การที่แบ่งเป็น 3 ยุค คือ (อาจารย์ววิภาแบ่งออกเป็นมุมมอง ออกเป็น 8 มุมมอง)


1.ยุคคลาสสิก


2.ยุคนีโอคลาสสิก


3.ยุคสมัยใหม่


1.ทฤษฎีองค์การในยุคคลาสสิก (Classical Organization Theory) เป็นยุคเริ่มต้นของการศึกษาองค์การ แนวคิดหลักของยุคนี้คือความพยายามในการแสวงหาหลักการทำงานและหลักการบริหารที่ดีที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหาร


ทฤษฎีสำคัญๆในยุคนี้ เช่น


-การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของเฟดเดอริก ดับเบิลยู เทเลอร์


-หลักการบริหารของกุลลิค-เออร์วิค


-องค์การตามระบบราชการของแมกซ์ เวเบอร์


2.ทฤษฎีองค์การยุคนีโอคลาสสิก (Neoclassical Organization Theory) เป็นยุคที่นักวิชาการออกมาวิจารณ์แนวคิดในยุคแรก เนื่องจากแนวคิดยุคแรกให้ความสำคัญกับ หลักการทำงานและการการบริหารงานมากเกินไป โดยละเลยคนในองค์การ


ยุคนีโอคลาสสิกจึงเสนอว่า การจะให้องค์การมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องให้ความสำคัญกับคนในองค์การทั้งในเรื่องของจิตใจ ความต้องการ และพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มในองค์การ


ทฤษฎีองค์การในยุคนี้จะมีจุดหลักอยู่ที่นักทฤษฎีในกลุ่มมานุษยนิยม (Humanism) เช่น เอลตัน เมโย /อับราฮัม มาสโลว์ /เฮอร์เบิร์ต ไชม่อน/แมรี่ ปากเกอร์ ฟอลลเลต และคนอื่นๆอีกมาก


โดยทฤษฎีที่นำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของคน


3.ทฤษฎีองค์การยุคใหม่ (Modern Organization Theory) เป็นแนวคิดที่มองว่าทฤษฎีใน 2 ยุคแรกเป็นการมององค์การในระบบปิด (Closed Perspective) คือไม่สนใจสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ


ทฤษฎีองค์การยุคใหม่มองว่าองค์การนั้นอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมมีผลอย่างยิ่งต่อองค์การและการบริหารงานในองค์การ ดังนั้นการศึกษาองค์การจึงควรศึกษาในระบบเปิด (Open Perspective)


ทฤษฎีองค์การในยุคใหม่เช่น


-ทฤษฎีการมององค์การเชิงระบบ (Systems Approach)


-ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ (Situation or Contingency Approach)


-ทฤษฎีองค์การที่เน้นการกระทำ (The Action Approach)


-มุมมองเชิงปริมาณ


-แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการและการสร้างความเป็นเลิศ


-การจัดการคุณภาพโดยรวม


ทฤษฎีองค์การยุคใหม่จะเน้นองค์การที่ไม่เป็นทางการ มีความยืดหยุ่นสูง ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว และเน้นการทำเทคนิคการบริหารสมัยใหม่มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการ Balance Scorecard องค์การแห่งการเรียนรู้ Benchmarking การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นต้น

my photo