วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ Comparative Public Administration - CPA..

              CPA. คือ สาขาวิชาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการบริหาร และระบบบริหารของประเทศต่าง ๆ ในเชิงเปรียบเทียบ โดยการพยายามนำเอาแนวความคิด และทฤษฎีทาง รปศ. ไปปรับใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง หรือประเทศในโลกที่สาม
              CPA. คือการศึกษาการบริหารของประเทศด้อยพัฒนา โดยนักวิชาการตะวันตก

วัตถุประสงค์

             -  เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบบริหาร หรือระบบราชการในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศด้อยพัฒนา
             -  เพื่อหาลักษณะร่วม หรือลักษณะสากลที่จะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีหรือศาสตร์ที่ว่าการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

แนวทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

             1. มุ่งเน้นศึกษาถึงความคล้าย คลึงและความแตกต่างระหว่าง ระบบการบริหารราชการ  ประสิทธิภาพการบริหารงานของประเทศต่างๆในประเทศโลกที่สาม และพยายามที่จะนำแนวคิด ทฤษฎีทาง ร.ป.ศ.ไปปรับใช้ในประเทศด้อยพัฒนาเพื่อให้ประเทศเหล่านั้นมีระบบการบริหารที่ทันสมัย แต่ผลที่ได้รับไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
             2. แนวทางการศึกษาจึงปรับเปลี่ยนไปที่ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศโลกที่สาม โดยเฉพาะปัญหาการนำนโยบาย แผนงาน โครงการต่างๆที่กำหนดไว้ออกไปปฏิบัติให้บรรลุผล
             3. มุ่งเน้นที่การบริหารการพัฒนาแนวใหม่ เพื่อให้การพัฒนาประเทศด้อยพัฒนาบังเกิดผล และสร้างความเป็นธรรมในสังคม

พัฒนาการและภูมิหลังของการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ
              -  แนวคิด CPA มีภูมิหลังมาจากนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2                 
             -  เปรียบเสมือนสินค้าส่งออกชนิดหนึ่งของอเมริกาที่ผลิตแล้วส่งออกไปขายในประเทศโลกที่สาม หลัง W.W.II

สรุป  พัฒนาการศึกษา CPA. เริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงหลัง W.W.II

นโยบายต่างประเทศของอเมริกาที่ใช้นับตั้งแต่ช่วงW.W.II-1970

             ยุคแรก ค.ศ.1943 - 1948  เป็นยุคแห่งการฟื้นฟูภายหลัง W.W.II  ในเกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ยุโรป

             เป้าหมาย  สร้างสังคมของประเทศเหล่านั้นให้มีลักษณะรูปแบบให้เหมือนสังคมอเมริกันในทุกด้าน
              ช่วงที่ 2 ค.ศ.1949 - 1960  เป็นยุคแห่งการสกัดกั้นการแพร่ขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์  และการปกป้องเขตอิทธิพลของสหรัฐ “ยุคสงครามเย็น”
             ยุทธวิธี  การสร้างพันธมิตรทางทหาร กับประเทศโลกเสรี และให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจกับประเทศพันธมิตร

             เป้าหมาย เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นมีการพัฒนาการปกครองไปสู่ระบอบ
ประชาธิปไตย


             แนวคิด การพัฒนาระบบบริหาร หรือระบบราชการในประเทศโลกที่สามให้มีขีดความ
สามารถเพิ่มขึ้น เพื่อจะได้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศต่อไป
             ช่วงที่  3  ค.ศ.1961 - 1972  ยุคแห่งการเผยแพร่อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
             ยุทธวิธี เปลี่ยนแปลงนโยบายการให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ จากการเน้น
 “ความมั่นคง”  การต่อต้านคอมมิวนิสต์มาสู่การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง  “สังคม”
             แนวคิด   เปลี่ยนแปลงสังคมของประเทศโลกที่สามให้เป็นเหมือนสังคมอเมริกัน ทั้งในเชิงรูป
แบบโครงสร้างและสร้างสถาบันต่าง ๆ ขึ้นมารองรับ
             ผลลัพธ์ ทำให้เกิดอุดมการณ์แห่งการพัฒนา (developmentism) ขึ้นมาเป็นอุดมการณ์
ใหม่ของโลก

                                                   

อุดมการณ์พัฒนาที่ครอบงำผู้นำในประเทศโลกที่สามคือ

              “ประเทศยากจนทั้งหลายในโลกที่สามจะสามารถพัฒนาประเทศของตนให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศพัฒนาได้ โดยมีมรรควิธีและเป้าหมายที่สำคัญคือ “ต้องเปลี่ยนสังคมของตนให้เป็นเหมือนประเทศที่เจริญแล้วคือเป็น “สังคมอุตสาหกรรม” ด้วยการเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อความเจริญเติบโตในทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว”

แนวทางการศึกษาเปรียบเทียบที่นักวิชาการเสนอมี 2 แนวทางคือ

             แนวทางแรก  กลุ่มการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ (Comparative Politics) นำโดย Gabriel Almond
              แนวคิด  การศึกษาการเมืองประเทศในโลกที่สามต้องสนใจ   ในเรื่อง พฤติกรรมทางการเมือง 
             ค่านิยม  และวัฒนธรรมทางการเมือง ไม่ใช่มุ่งเน้นศึกษาเรื่อง รัฐ-ชาติ อำนาจรัฐ สถาบันการเมือง
             ความเชื่อ สังคมประเทศโลกที่สามมีความด้อยพัฒนาอย่างมากเมื่อเทียบกับตะวันตก วิธี
             การแก้ไขคือ ต้องพัฒนาการเมืองในประเทศเหล่านั้นโดยการลอกเลียนแบบจากประเทศตะวันตก

             แนวทางที่สอง   กลุ่มบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (Comparative Public Administration)             แนวคิด ระบบบริหารของประเทศในโลกที่สามเป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำงานไม่ได้

ผล เมื่อเปรียบเทียบกับในประเทศตะวันตก

             ความเชื่อ ต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารของประเทศโลกที่สามให้ “ทันสมัย”
             -  ต้องสร้างสถาบันทางการบริหารใหม่ ๆ ขึ้นมาในประเทศโลกที่สาม เพื่อเป็นกลไก
ในการพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

my photo