(1) การสอดส่อง ดูแล ควบคุมผลิตภัณฑ์และสินค้า ให้ได้มาตรฐานสำหรับประชาชน ทำให้เกิด ความเป็นธรรม
(2) การส่งเสริมธุรกิจใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับสภาวะ เศรษฐกิจปัจจุบัน
(3) การควบคุมและให้บริการกิจกรรมบางอย่างในการดำเนินชีวิต
(4) การเป็นเจ้าของทรัพย์สินสาธารณะ
(5) การให้บริการด้านเศรษกิจแก่ประชาชน
(6) รับผิดชอบการบริการสาธารณะโดยส่วนรวม และ ฯลฯ
ระบบราชการไทยในอุดมคติน่าจะมีลักษณะดังนี้
(1) ปราศจากการฉ้อราษฎรบังหลวง ไม่มีการโกง กิน เล่นพรรคเล่นพวก
(2) หน่วยงานต่าง ๆ ประสานงานกันอย่างกลม กลืน
(3) มีการกระจายอำนาจจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
(4) ประชาชนผู้มารับบริการมีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก
(5) มีการวางแผนอย่างดี
(6) มีการจัดข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง และทันสมัย
(7) มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป
(8) ไม่มีอิทธิพลทางการเมือง
ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งของรัฐอเมริกา ได้ เปลี่ยนชื่อวิชา "Public Administration" มา เป็นวิชา "Public Policy" ด้วยเหตุผลว่า การศึกษา บริหารรัฐกิจคือ การศึกษานโยบายสาธารณะนั่นเอง เนื้อหาของวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีแนวความคิดค่อนข้าง หลากหลาย สำหรับความคิดในแนวใหม่นั้น จะเป็นการพัฒนาไปในสายรัฐศาสตร์ (Political Sciences) เกิดเป็นทฤษฎีการเมืองของรัฐที่เข้มข้นมี
สาระสำคัญ 4 ประการ คือ
(1) การสนใจเรื่องที่สอดคล้องกับความต้องการของ สังคม (Relevance)
(2) สนใจค่านิยม (Value) เห็นค่าการบริหารรัฐ กิจจะหลีกเลี่ยงเรื่องของทางราชการและการ เมืองไม่ได้
(3) ความเสมอภาคทางสังคม (Social Equity)
(4) นักบริหารรัฐกิจจะต้องเปลี่ยนแปลง (Change)
ขณะนี้ได้เกิดความเข้าใจผิดสับสนมากพอสมควรใน
เรื่องแนวทางของการบริหารรัฐกิจ และการ
บริหารธุรกิจจึงขอชี้ให้เห็นความแตกต่างของทั้งสองแนว
ทางดังต่อไปนี้ คือ
(1) การบริหารรัฐกิจมีกฎหมายรองรับในการทำ กิจกรรมต่าง ๆ
(2) การบริหารรัฐกิจ จะมีการควบคุมทางงบประมา
(3) การบริหารงานสาธารณะมีขอบเขตกว้างขวาง มากมาย
(4) เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการบริหารงาน รัฐมีมากมายและมักคลุมเครือ
(5) ความพร้อมที่จะได้มีการตรวจสอบและสอดส่องดูแลทางสาธารณะ
(6) การบริหารราชการมีความเกี่ยวข้องทางการเมืองโดยตรง
(7) การบริหารสาธารณกิจเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะมั่นคง
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองสาขานี้ก็ยังมีความคล้ายกัน อยู่บ้างนั่นก็คือ ทั้งการบริหารรัฐกิจ และการบริหารธุรกิจเป็นเรื่องของการร่วมมือดำเนินการหรือ ปฏิบัติการของกลุ่มบุคคลที่มุ่งเป้าหมายร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้ "ศาสตร์แห่งการบริหาร" จะเห็นว่าระบบราชการยังต้องการคำอธิบายให้
สาธารณะชนได้เข้าใจอย่างถูกต้องและเป็นความ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงระบบให้ได้มาตรฐานการ บริการสาธารณะตามเป้าหมาย
ตารางเปรียบเทียบกระบวนทัศน์ระบบราชการแบบเก่า และกระบวนทัศน์ระบบราชการแบบใหม่
กระบวนทัศน์ระบบราชการแบบเก่า (Bureaucratic Paradigm) กระบวนทัศน์ระบบราชการแบบใหม่ (Post-Bureaucratic Paradigm)
1. คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) 1. ให้ประชาชนได้รับสิ่งที่มีคุณค่า (Results Citizens Value)
2. ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ (Efficiency) 2. ให้ความสำคัญกับคุณภาพและสิ่งที่มีคุณค่า (Quality and value)
3. มุ่งเน้นการบริหารแบบนายสั่ง (Administration) 3. เน้นการเพิ่มผลผลิตหรือมุ่งเน้นงาน (Production)
4. เน้นการควบคุมสั่งการ (Control) 4. การยึดมั่นในปทัสถาน (Winning adherence to norms)
5. กำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน (Specify Functions, Authority and Structure) 5. กำหนดภารกิจที่ชัดเจน ปรับปรุงบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเน้นผลลัพธ์ (Identify Mission, Services, Customers, And Outcomes)
6. คำนึงถึงต้นทุน (Justify costs) 6. การส่งมอบสิ่งที่มีคุณค่า (Deliver Value)
7. ตระหนักถึงความรับผิดชอบ (Enforce Responsibility) 7. การสร้างระบบตรวจสอบและ เสริมสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานที่แข็งแกร่ง (Build Accountability, Strengthen Working Relationship
8. การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และ กระบวนการทำงาน (Follow rules and procedures) 8. สร้างความเข้าใจในปทัสถาน หาวิธีการ แก้ปัญหาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Understand and Apply norms, Identity and Solve Problems, Continuously Improve Processes)
9. การปฏิบัติตามระบบการบริหาร (Operate Administrative) 9. การแยกการบริการออกจากการควบคุม, การสร้างปทัสถาน, การเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า, สร้างความร่วมมือ, การให้สิ่งจูงใจ, การวัดผลงานและวิเคราะห์ผลลัพธ์, การรับฟังผลสะท้อนกลับจากผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงการบริการให้มีคุณภาพสูง (Separate Service From Control, Build Support for Norm, Expand Customer Choice, Encourage Collective Action, Provide Incentives, Measure and Analyze Results, Enrich Feedback)
พัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ
ส่วนใหญ่แล้วการพูดถึงพัฒนาของแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจมักจะมีมุมมองในเชิงพาราไดม์ (Paradigm) และคนที่เสนอพาราไดม์ของการบริหารรัฐกิจที่น่าสนใจมากที่สุดคือ นิโคลัส เฮนรี่ ได้นำเสนอพัฒนาการของการศึกษาบริหารรัฐกิจของมาเป็น 5 กระบวนทัศน์ หรือ 5 พาราไดม์ด้วยกันคือ
พาราไดม์ที่ 1 การแยกการเมืองและการบริหารแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด พาราไดม์นี้เกิดจากแนวคิดของวูดโรว์ วินสัน ที่ต้องการให้แยกการเมืองออกจากการบริหารอย่างเด็ดขาด โดยให้ฝ่ายการเมืองทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและฝ่ายบริหารทำหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
พาราไดม์ที่ 2 หลักการบริหาร พาราไดม์นี้พิจารณาว่าการจะมีการบริหารงานที่ดี เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและการประหยัดนั้นจะต้องมีหลักการในการบริหารที่มีการกำหนดขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นในช่วงพาราไดม์นี้นักวิชาการจึงมีการนำเสนอหลักเกณฑ์ในการบริหารงานขึ้นมา โดยมุ่งจะให้หลักเกณฑ์เหล่านี้นำมาซึ่งประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดความประหยัดในการบริหารงาน
หลักการบริหารที่ถูกนำเสนอในช่วงพาราไดม์นี้เช่น หลักการ POSCORB ของกุลลิคและเออร์วิค หลักการ POCCC ของเฮนรี่ฟาโย
พาราไดม์ที่ 3 การเมืองคือการบริหาร เป็นพาราไดม์ที่คัดค้านพาราไดม์ที่ 1 โดยมองว่าการบริหารคือการเมือง และชี้ให้เห็นว่าการแยกการเมืองออกจากการบริหารนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
พาราไดม์ที่ 4 ศาสตร์การบริหาร เป็นพาราไดม์ที่คัดค้านพาราไดม์ที่ 2 นั่นคือบอกว่าหลักในการบริหารที่พาราไดม์ที่ 2 นำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะหลักในการบริหารเป็นเพียงสุภาษิตทางการบริหารเท่านั้น พาราไดม์ที่ 4 จึงเสนอว่าการบริหารรัฐกิจนั้นคือศาสตร์แห่งการบริหาร
ในช่วง 4 พาราไดม์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาการบริหารรัฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในแง่ของการยอมรับ การรับรู้ และจุดสนใจในการบริหาร ทำให้ดูเหมือนว่าการศึกษาวิชาการบริหารรัฐกิจนั้นขาดความเป็นเอกลักษณ์ในตัวของมันเองทำให้ในพาราไดม์ที่ 5 จึงมีความพยายามที่จะค้นหาเอกลักษณ์ของวิชาการบริหารรัฐกิจ
พาราไดม์ที่ 5 การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ พาราไดม์นี้มุ่งหวังที่จะให้วิชาการบริหารรัฐกิจมีเอกลักษณ์ของตนเอง และมุ่งหวังให้วิชาการบริหารรัฐกิจมีลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพของสังคมที่เป็นอยู่ในเวลานั้นๆ
เราจะเห็นว่าพาราไดม์หรือกระบวนทัศน์ของการบริหารรัฐกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในช่วงที่มีการยอมรับพาราไดม์ใดพาราไดม์หนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เราเรียกการยอมรับตรงนี้ว่าภาวะปกติหรือ Normal Science แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในพาราไดม์เราจะเรียกว่า Paradigm Crisis หรือการเกิดวิกฤติการณ์ทางด้านเอกลักษณ์ หรือตำราบางเล่มอาจจะใช้คำว่า Sciencetific Revolution นั่นคือเกิดความคิด หรือเกิดการคัดค้านการยอมรับในพาราไดม์เดิมว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอีกต่อไป
วิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่การเกิดพาราไดม์ใหม่ถ้าสามารถทำให้การคัดค้าน หรือการนำเสนอประเด็นใหม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
จากทั้ง 5 พาราไดม์ที่นำเสนอโดยนิโคลัส เฮนรี่นั้น จะพบว่าได้เกิดวิกฤติการณ์ทางด้านเอกลักษณ์ 2 ครั้งด้วยกันคือ
วิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งที่ 1 เป็นการคัดค้าน พาราไดม์ที่ 1 และพาราไดม์ ที่ 2 เป็นการคัดค้านว่าการเมืองไม่สามารถแยกออกจากการบริหารได้ และการคัดค้านพาราไดม์ ที่ 2 ว่าในการบริหารงานภาครัฐนั้นไม่สามารถมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการบริหารได้อย่างเป็นสากล
วิกฤติการณ์ทางด้านเอกลักษณ์ครั้งที่ 1 นี้นำไปสู่การเกิดพาราไดม์ที่ 3 คือการบริหารคือการเมือง และเกิดพาราไดม์ที่ 4 คือศาสตร์แห่งการบริหาร
วิกฤติการณ์ทางด้านเอกลักษณ์ครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่การศึกษาการบริหารรัฐกิจได้รับอิทธิพลจากการศึกษาด้านพฤติกรรมศาสตร์ จึงทำให้เกิดการประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการสมัยใหม่ร่วมกันประมาณปี 1968 และนำเสนอแนวคิดที่เรียกว่า New Public Administration หรือ New PA. ขึ้นมา และเป็นแนวคิดที่นำไปสู่การเกิดพาราไดม์ที่ 5 ขึ้นมา
และจากพาราไดม์ที่ 5 ณ ปัจจุบันนี้แนวคิดที่ใช้ในการบริหารรัฐกิจที่ถูกนำมาใช้มากถูกเรียกว่า การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM)
ในแต่ละพาราไดม์จะมีทฤษฎีสำคัญๆ ที่เสนอโดยนักวิชาการต่างๆ เช่นในพาราไดม์ที่ 1 ก็จะมีวูดโรว์ วิลสัน กู๊ดนาวส์ ซึ่งในชีทของแต่ละอาจารย์จะมีรายละเอียดของแนวคิดแต่ละนักวิชาการอยู่แล้ว
A-Z Entertainment Group AB Announces a $250,000 - JamBase
ตอบลบ› 포항 출장안마 › Sports › 파주 출장마사지 Sports Sports Sports 1 포항 출장마사지 of 48 — Sports 1 of 48 Sports 1 of 48 Sports 1 보령 출장마사지 of 48 밀양 출장안마