วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ลักษณะของ "การบริหารรัฐกิจ" หรือ "รัฐประศาสนศาสตร์"
มีดังนี้คือ

1. เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ หรือเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่แยกออกมาจากวิชารัฐศาสตร์ ดังนั้นรัฐประศาสนศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น ตรรกวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยาสังคม ฯลฯ

2. ไม่ให้ความสนใจในเรื่อง "ความบริสุทธิ์" ของศาสตร์

3. ปัจจุบันนิยมศึกษาในรูปของสหวิทยาการ (Inter - Disciplinary Approach) คือ เกี่ยวพันกับศาสตร์สาขาต่าง ๆ ยากที่จะแยกออกจากกันได้

4. ต้องนำเอาสังคมศาสตร์สาขาต่าง ๆ มากำหนดนโยบายในการบริหารงานของรัฐ

ในด้านความเป็นศาสตร์นั้น เป้าหมายของศาสตร์ก็คือการพยายามหาหลักการ กฎเกณฑ์ หรือทฤษฎี ที่สามารถเป็นข้อสรุปโดยทั่วไป (Generalization) ของพฤติกรรมหรือกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทุกสังคมในลักษณะที่เป็นสากล (Universality)

แต่ในปัจจุบันนี้นักวิชาการต่าง ๆ ได้ยอมรับกันว่า วิชาสังคมศาสตร์นั้นจะมีข้อจำกัดหรือมีขอบเขตทางด้านวัฒนธรรม (Cultural Bound) กล่าวคือ หลักการ กฎเกณฑ์ หรือทฤษฎีที่ได้มาจากการศึกษาของสังคมหนึ่ง

อาจจะไม่สามารถนำมาใช้อธิบายหรือนำมาใช้ได้กับอีกสังคมหนึ่งก็ได้ เช่น ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา สามารถนำเอาความรู้ที่เป็นข้อค้นพบจากประเทศพัฒนาแล้วมาใช้ได้ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งอาจจะนำมาใช้ไม่ได้ เป็นต้น

จากแนวความคิดดังกล่าว ได้มีกลุ่มนักวิชาการได้พยายามสร้างศาสตร์ที่เหมาะกับประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาขึ้นมา เรียกว่า พัฒนบริหารศาสตร์ (Development Administration) โดยนักวิชาการในกลุ่มนี้เห็นว่าความรู้ของวิชาการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) ที่ค้นพบจากประเทศพัฒนาแล้ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับประเทศกำลังพัฒนาได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

 ลักษณะของวิชา "พัฒนบริหารศาสตร์" (Development Administration) มีดังนี้คือ

1. จัดเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์

2. เป็นศาสตร์ที่พยายามสร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา

นักวิชาการที่ศึกษาการบริหารรัฐกิจมีแนวทางที่แตกต่างกันออกไป 3 เหตุผล (ความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับพาราไดม์ที่ศึกษา) คือ

1. นักวิชาการแต่ละกลุ่มมีการรับรู้หรือมีอัตตวิสัยที่แตกต่างกัน
2. กิจกรรมของรัฐบาลมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมาก
3. สภาวการณ์และปัญหาต่าง ๆ ของสังคมมีความแตกต่างกัน

เทคนิคหรือกระบวนการบริหาร (Administrative Process) ซึ่งเป็นงานหรือหน้าที่ที่นักบริหารจะต้องทำ มีดังนี้คือ
1. การวางแผนและนโยบายของรัฐ
2. องค์การและการจัดองค์การ
3. การบริหารงานบุคคล
4. การบริหารงานคลัง

เทคนิคหรืองานการบริหารอื่น ๆ ที่ช่วยให้นักบริหารทำงานได้มีประสิทธิภาพ มีดังนี้คือ
1. การสื่อความเข้าใจ
2. การจูงใจ
3. การวินิจฉัยสั่งการ

การบริหารงานบุคคลเป็นการดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและระดับองค์การหรือหน่วยงานเริ่มตั้งแต่
1. การวางนโยบายและการวางแผนเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์
2. การสรรหาบุคคลให้ได้ตามปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ
3. การพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพอยู่เสมอ
4. การศึกษาประสิทธิภาพของการทำงานภายใต้ภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน

สิ่งแวดล้อมทั่วไปที่มีอิทธิพลต่อการบริหารในองค์การ คือ
1. ลักษณะของวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของคนในชาติ
2. สภาพเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ภูมิประเทศของประเทศ
3. ปัจจัยทางด้านประชากร ปัจจัยทางด้านกฎหมาย และเทคโนโลยี

กลุ่มรัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ (New Public Administration) มีความเห็นว่ารัฐประ-
ศาสนศาสตร์หรือวิชาบริหารรัฐกิจนั้น จะมีลักษณะเป็นศาสตร์อย่างอ่อน (Soft Science) ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทคนิคการศึกษาและการวิจัยที่เคร่งครัดในวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากนัก

วิชาพัฒนบริหารศาสตร์ (Development Administration) เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการบริหารงานของประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ซึ่งเห็นว่าในประเทศกำลังพัฒนานั้นมีลักษณะสิ่งแวดล้อมทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรสร้างศาสตร์ให้เหมาะสมกับประเทศนั้น ๆ ด้วย

"การบริหารรัฐกิจ" เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการการ
บริหารงานภาครัฐ ที่อาจใช้อีกคำหนึ่งแทนได้
คือ การบริหารการบริการสาธารณะ หากใช้ในแง่สาขา
วิชา คำว่า "รัฐประศาสนศาสตร์" ที่นิยมใช้กัน
อย่างกว้างขวาง

                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

my photo