มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ
1.การบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)
2.การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)
กล่าวคือเพื่อให้โครงการพัฒนาประสบความสำเร็จ จะต้องมีการปรับปรุงระบบบริหารหรือการพัฒนาระบบบริหารของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนา
การพัฒนาระบบบริหาร จะทำใน 3 ส่วนคือ
-การพัฒนาโครงสร้างการบริหาร
-การพัฒนากระบวนการในการบริหาร
-การพัฒนาพฤติกรรมในการบริหาร
ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานหรือองค์การที่ทำหน้าที่ในด้านการพัฒนา มีทั้งโครงสร้าง กระบวนการการบริหาร และมีพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการนำนโยบายการพัฒนาไปปฏิบัติ
ทั้งนี้การพัฒนาการบริหารอาจจะเรียกได้หลายอย่าง เช่น
-Administrative Reform การปฏิรูปทางการบริหาร
-Reorganization การจัดองค์การใหม่
-Organization Development การพัฒนาองค์การ
-Administrative Improvement การปรับปรุงการบริหาร
-Organization Improvement การปรับปรุงองค์การ
-Revitalization การพัฒนาตนเองใหม่
-การบริหารโครงการพัฒนา หมายถึงการแปลงนโยบายการพัฒนาออกมาเป็นโครงการและกิจกรรมการพัฒนาให้ชัดเจน
-การพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึงการเพิ่มรายได้ของประชาชนให้สูงขึ้น ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมากขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องวางแผน ดำเนินการตามแผน และประเมินผล
-การพัฒนาการเมือง เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของชาติ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจการของบ้านเมือง
-การพัฒนาเมือง ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมต่างๆ จึงต้องทำให้เมืองมีความพร้อมในการรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
-การพัฒนาชนบท เพื่อพัฒนาคนในชนบทให้หลุดพ้นจากความยากจน การไม่รู้หนังสือ และความเจ็บป่วย พัฒนาให้คนในชนบทพึ่งตนเองได้
-การพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นเครื่องมือของภาครัฐในการสร้างบริการให้ประชาชน
-การพัฒนาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เน้นการพัฒนาที่ดีจากมิตรประเทศ องค์การระหว่างประเทศ
ความช่วยเหลือจากต่างประเทศอาจจะอยู่ในรูปของเงินกู้ เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า
การบริหารเพื่อการพัฒนา (A of d )
-การบริหารโครงการพัฒนา
-การพัฒนาเศรษฐกิจ
-การพัฒนาสังคม
-การพัฒนาทางการเมือง
-การพัฒนาเมือง
-การพัฒนาชนบท
-การพัฒนารัฐวิสาหกิจ
-การพัฒนาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
การพัฒนาการบริหาร(D of A)
-โครงสร้าง
-กระบวนการ /เทคโนโลยี
-พฤติกรรม
การบริหารการพัฒนา ( DA)
สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนา
สิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสนใจคือ ในการบริหารการพัฒนาจะมีสภาพแวดล้อมมาเกี่ยวข้อง และส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการพัฒนา
สิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้แก่
1. สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาจากภายนอกประเทศ ได้แก่
-ประชากร ดูจำนวน คุณภาพ การศึกษาของประชากร
-เทคโนโลยีทั้งทางกายภาพและชีวภาพที่มีอยู่ในนอกประเทศเพราะไม่นานจะถ่ายทอดมาสู่ประเทศเรา
-สิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม เช่น การมีองค์การในรูปแบบใหม่ ๆ การสร้างกลุ่มสังคมกลุ่มใหม่ ๆ
-อุดมการณ์
2. สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาจากภายในประเทศ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป้าหมาย
3. สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาภายในองค์การ หมายถึง ปฏิกิริยาโต้ตอบหรือความขัดแย้งระหว่างองค์การกับบุคคลในองค์การ เช่น
-องค์การมีเป้าหมายอย่างหนึ่งแต่บุคคลในองค์การกลับมีเป้าหมายขัดกับเป้าหมายขององค์การ
-องค์การมอบหมายบทบาทที่ขัดกับบุคลิกภาพของผู้ปฏิบัติงานนั้น ๆ เช่น มอบหมายงานประชาสัมพันธ์ให้กับคนที่มีนิสัยชอบเก็บตัว
-ความขัดแย้งระหว่างความคาดหวังขององค์การกับความต้องการส่วนบุคคล องค์การมีความคาดหวังอย่างหนึ่งแต่คนกลับต้องการอีกอย่างหนึ่ง เช่น องค์การคาดหวังว่าจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมแต่คนในองค์การกลับอยากได้ประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ จากสังคม
องค์การและการจัดการ (อ.รวิภา และ อาจารย์ชลิดาสอน)
องค์การ หมายถึง หน่วยในการบริหารงาน ที่จะทำหน้าที่ในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การ ในองค์การจะต้องประกอบด้วย
-เป้าหมาย (Goal)
-บุคคลอย่างน้อย 2 คนที่มาทำงานร่วมกัน
-มีปฏิกริยาระหว่างกัน และมีรูปแบบแห่งความสัมพันธ์
การจัดการ หมายถึง ความพยายามร่วมกันของมนุษย์ในการจะทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และก่อให้เกิดความพอใจ ปัจจุบันวัตถุประของการบริหารยังรวมถึง ความยุติธรรม ความเสมอภาค และการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วย
พัฒนาการของทฤษฎีองค์การที่แบ่งเป็น 3 ยุค คือ (อาจารย์ววิภาแบ่งออกเป็นมุมมอง ออกเป็น 8 มุมมอง)
1.ยุคคลาสสิก
2.ยุคนีโอคลาสสิก
3.ยุคสมัยใหม่
1.ทฤษฎีองค์การในยุคคลาสสิก (Classical Organization Theory) เป็นยุคเริ่มต้นของการศึกษาองค์การ แนวคิดหลักของยุคนี้คือความพยายามในการแสวงหาหลักการทำงานและหลักการบริหารที่ดีที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหาร
ทฤษฎีสำคัญๆในยุคนี้ เช่น
-การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของเฟดเดอริก ดับเบิลยู เทเลอร์
-หลักการบริหารของกุลลิค-เออร์วิค
-องค์การตามระบบราชการของแมกซ์ เวเบอร์
2.ทฤษฎีองค์การยุคนีโอคลาสสิก (Neoclassical Organization Theory) เป็นยุคที่นักวิชาการออกมาวิจารณ์แนวคิดในยุคแรก เนื่องจากแนวคิดยุคแรกให้ความสำคัญกับ หลักการทำงานและการการบริหารงานมากเกินไป โดยละเลยคนในองค์การ
ยุคนีโอคลาสสิกจึงเสนอว่า การจะให้องค์การมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องให้ความสำคัญกับคนในองค์การทั้งในเรื่องของจิตใจ ความต้องการ และพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มในองค์การ
ทฤษฎีองค์การในยุคนี้จะมีจุดหลักอยู่ที่นักทฤษฎีในกลุ่มมานุษยนิยม (Humanism) เช่น เอลตัน เมโย /อับราฮัม มาสโลว์ /เฮอร์เบิร์ต ไชม่อน/แมรี่ ปากเกอร์ ฟอลลเลต และคนอื่นๆอีกมาก
โดยทฤษฎีที่นำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของคน
3.ทฤษฎีองค์การยุคใหม่ (Modern Organization Theory) เป็นแนวคิดที่มองว่าทฤษฎีใน 2 ยุคแรกเป็นการมององค์การในระบบปิด (Closed Perspective) คือไม่สนใจสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
ทฤษฎีองค์การยุคใหม่มองว่าองค์การนั้นอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมมีผลอย่างยิ่งต่อองค์การและการบริหารงานในองค์การ ดังนั้นการศึกษาองค์การจึงควรศึกษาในระบบเปิด (Open Perspective)
ทฤษฎีองค์การในยุคใหม่เช่น
-ทฤษฎีการมององค์การเชิงระบบ (Systems Approach)
-ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ (Situation or Contingency Approach)
-ทฤษฎีองค์การที่เน้นการกระทำ (The Action Approach)
-มุมมองเชิงปริมาณ
-แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการและการสร้างความเป็นเลิศ
-การจัดการคุณภาพโดยรวม
ทฤษฎีองค์การยุคใหม่จะเน้นองค์การที่ไม่เป็นทางการ มีความยืดหยุ่นสูง ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว และเน้นการทำเทคนิคการบริหารสมัยใหม่มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการ Balance Scorecard องค์การแห่งการเรียนรู้ Benchmarking การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น