มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนพื้นที่ 197 ไร่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของ ประเทศไทย
อันดับมหาวิทยาลัย
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในอันดับที่ 1,254 ของโลก อันดับที่ 44 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยสัญลักษณะประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ตราประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ตราโรจนากร ซึ่งมีความหมายว่า ดวงตาแห่งความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมา
พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว"' หมายความว่า ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
ใบเสมา หมายถึง ภูมิปัญญา
องค์พระธาตุนาดูน หมายถึง คุณธรรมความดี
สุริยรังสี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ลายขิด หมายถึง ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งอีสาน
ความหมายโดยรวม คือ ความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นผลจากความรู้และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่นอีสาน
- ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ
- สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง - เทา
สีเทา หมายถึง ความคิด หรือ ปัญญา
สีเหลือง - เทา จึงหมายถึง การมีปัญญาและความคิดที่ดีงาม อันนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
- วาทกรรมอัตลักษณ์ประชาคม มมส คือ ลูกพระธาตุนาดูน ดอกคูนผลิช่อ มอน้ำชี ศรีโรจนากร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น