วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

บริหารรัฐกิจ

บริหารรัฐกิจ
การบริหารรัฐกิจเบื้องตน มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ
1. เพื่อให้เข้าใจถึงความหมายและขอบข่ายของการศึกษาบริหารรัฐกิจ
2. เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการและแนวโน้มของการศึกษาวิชาบริหารรัฐกิจ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและแนวโน้มที่อาจจะเป็นไปในอนาคต
3. เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงสิ่งแวดล้อมของการบริหารรัฐกิจ บทบาท และอิทธิพลของ
สิ่งแวดล้อมที่มีต่อประชาชนที่เป็นลูกค้าขององค์การบริหารรัฐกิจ และต่อความสำเร็จของการบริหารรัฐกิจ
4. เพื่อให้เข้าใจและวิเคราะห์ถึงเทคนิคและกระบวนการบริหารงานตั้งแต่การวางนโยบายของรัฐและการวางแผน องค์การและการจัดรูปองค์การ การบริหารงานบุคคล การบริหารการคลังสาธารณะ การสื่อความเข้าใจ การจูงใจ การวินิจฉัยสั่งการ และเทคนิคเชิงปริมาณ

                            
การบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์
คำว่า "การบริหารรัฐกิจ" หรือ "รัฐประศาสนศาสตร์" นั้น มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Public Administration ซึ่งจะมีความหมายเป็น 2 นัยหรือ 2 ด้าน คือ ในฐานะที่เป็นศาสตร์ (Science) หรือเป็นสาขาวิชาการ (A Field of Study) และในฐานะที่เป็นการปฏิบัติงาน (Activities) หรือเป็นกิจกรรม

ในแง่วิชาการนั้นศาสตร์ที่เรียกว่า วิชาบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์มักจะใช้แทนกันได้ แล้วแต่ว่าเป็นวิชาการของสำนักใด เช่น ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะเรียกวิชานี้ว่า "วิชาบริหารรัฐกิจ" ส่วนที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเรียกวิชานี้ว่า "รัฐประศาสนศาสตร์"

ศาสตร์ (Science) ในทัศนะของนักวิชาการทางสังคมศาสตร์นั้นจะมีความเห็นแตกต่างกัน โดยนักวิชาการบางกลุ่มมองศาสตร์เป็น "องค์แห่งความรู้ที่ได้มาโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เคร่งครัด และเป้าหมายของศาสตร์ก็คือการสร้างทฤษฎีเพื่อให้เข้าใจ พรรณนา อธิบาย และพยากรณ์ปรากฏการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม" เช่นในทัศนะของนักรัฐศาสตร์กลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ และกลุ่มประจักษนิยม เป็นต้น
แต่นักวิชาการบางกลุ่มมองศาสตร์ในทัศนะอย่างไม่เคร่งครัดเหมือนกับ "ศาสตร์" ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ดังเช่น กมล อดุลพันธุ์ มองว่า "ศาสตร์เป็นวิชาการที่รวบรวมเป็นระบบ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้ และนำมาถ่ายทอดกันได้"

กวี รักษ์ชน มีความเห็นว่า รัฐประศาสนศาสตร์หรือวิชาบริหารรัฐกิจจะมีลักษณะเป็นศาสตร์อย่างอ่อน (Soft Science) ต่างจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นศาสตร์อย่างแข็ง (Hard Science) ดังนั้น
รัฐประศาสนศาสตร์จึงไม่อาจจะเป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยการศึกษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เคร่งครัดเหมือนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

my photo