คณะวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปรัชญา | |
ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน (พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว) | |
ปณิธาน | |
บัณฑิตวิทยาลัยการเมืองการปกครองต้องเป็น ผู้รอบรู้ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และบริการทางวิชาการสู่สังคม | |
วิสัยทัศน์ | |
มุ่งสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นนำทั้งในระดับภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ กระบวนการยุติธรรม และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง | |
ค่านิยมร่วมองค์กร (Shared Values) | |
C - Creativity ความคิดสร้างสรรค์ O - Optimization ความมีประโยชน์คุ้มค่า P - Prestige ความมีเกียรติภูมิ A - Ability ความสามารถ G - Generosity ความมีน้ำใจ | |
พันธกิจ | |
1. มุ่งผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ด้านความสามารถ และด้านคุณธรรม 2. สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อสร้างองค์ความรู้ภายใต้บริบทระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ 3. ให้บริการวิชาการต่อสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ชุมชนและสังคม 4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระดับชุมชน ท้องถิ่น เพื่อรักษาประเพณีและค่านิยม อันดีงาม | |
ประวัติวิทยาลัยการเมืองการปกครอง | |
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยการผนวกภาควิชารัฐศาสตร์ ศูนย์ข้อมูลการเมืองท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการจัดตั้งหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งสังกัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าด้วยกัน วิทยาลัยการเมืองการปกครองได้ดำเนินงานตามพันธกิจด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันโดยวิทยาลัยการเมืองการปกครองได้วางรากฐานทางปัญญาอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดตั้งโครงการความร่วมมือต่างๆ ที่เน้นการเสริมสร้างความรู้คู่คุณธรรมและการทำงานเพื่อส่วนรวมอาทิ โครงการลงชุมชนของนิสิต โครงการติวนิสิต (Copag Tutor) โครงการให้นิสิตริเริ่มทำกิจการ (Copag Creative) โครงการสร้างวิทยาลัยสีเขียว (Copag Green) ตลอดจนได้จัด Copag Open Houseและ Copag Open Book เพื่อเปิดบ้านวิทยาลัยให้บุคคลภายนอกได้ทราบกิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยาลัย รวมทั้งการทำความตกลงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลวังแสง เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันนอกจากนี้ วิทยาลัยการเมืองการปกครองได้ทำข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้ทางวิชาการ เช่น คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ผู้แทนจากลักแซมเบิร์ก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล องค์กรพัฒนาเอกชนทางด้านกฎหมายเรือนจำจังหวัดมหาสารคามเพื่อร่วมมือทางวิชาการแลกเปลี่ยนนิสิตอาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น | |
หลักสูตรที่เปิดสอน | |
ระดับปริญญาตรี >1.)รัฐศาสตรบัณฑิต ( ร.บ.) วิชาเอก >>1.1 การเมืองการปกครอง >>1.2 รัฐประศาสนศาสตร์ >>1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ >2.)นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) >3.)หลักสูตรคู่ขนาน 5 ปี คือ นิติศาสตรบัณฑิตและศิลปศาสตรบัณฑิต (สิทธิมนุษยชนศึกษา) >>>นบ. และศศ.บ. (สิทธิมนุษยชนศึกษา) >4.)รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น) : รป.บ. (การปกครองท้องถิ่น) | |
ระดับปริญญาโท >1.)รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะ) : รป.ม. (นโยบายสาธารณะ) >2.)รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) : ร.ม. (การเมืองการปกครอง) | |
ศูนย์บริการทางวิชาการต่างๆ ภายในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง | |
1.) ศูนย์ศึกษาการเมืองท้องถิ่นอีสาน 2.) ศูนย์ศึกษาสิทธิมนุษยชนและสันติวิธี 3.) คลินิกนิติศาสตร์ (ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย) 4.) คลินิกรัฐศาสตร์ 5.) ศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษ 6.) ห้องสมุด | |
ทำได้ดี นะ
ตอบลบ
ตอบลบThis is wonderful website
Qassim & QU