รัฐศาสตร์ คือ
รัฐศาสตร์ เป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับกระบวนการแบ่งปัน และถ่ายโอนอำนาจในกระบวนการตัดสินใจ เมื่อเปรียบเทียบกับสาขาอื่นๆแล้ว รัฐศาสตร์ ถูกจัดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราว และสถาบันที่เป็นสาธารณะ สาขานี้มักถูกแบ่งเป็นหลายๆด้าน เช่น รัฐศาสตร์ เปรียบเทียบ รัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ปรัชญาทางรัฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ระดับชาติ รวมไปถึงระเบียบวิจัย นอกจากนั้นยังเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องการบริการรัฐ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะสหวิทยาการ กล่าวคือต้องอาศัยศาสตร์หลายๆศาสตร์เข้ามาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่ออธิบายภาวะต่างๆทางสังคมที่เกิดขึ้น
รัฐศาสตร์ มีสาขาอะไรกันบ้าง
- สาขาการปกครอง ศึกษาเกี่ยวกับหลักทฤษฏีการเมือง ระบบการเมือง พฤติกรรมทางการเมือง การเมืองเปรียบเทียบ การปกครองของประเทศต่างๆที่สำคัญ
- สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศของกลุ่มต่างๆ องค์การและกฏหมายระหว่างประเทศ สาขาสัมคมวิทยาและมนุษยวิทยา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ ภายใต้โครงสร้าง และการจัดระเบียบแต่ละสังคมที่แตกกต่างกันตามลักษณธของวัฒนธรรม
- สาขาบริหารรัฐกิจ [รัฐประศาสนศาสตร์] ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารองค์การภาครัฐ การวางแผนและการดำเนินนโยบายการบริหารต่างๆ เช่นการบริหารงานบุคคล การบริหารองค์การ การบริหารงานคลัง และงบประมาณ การวางแผนและบริหารโครงการวางแผนกำลังคน นโยบายสาธารณะ และการบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นต้นรัฐศาสตร์ เรียนถึงปริญญาเอกเลยได้ไหม.. ได้ครับ..การเรียนการสอนมีตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงระดับปริญญาเอก โดยในระดับปริญญาตรีศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การปกครองระหว่างประเทศ และบริหารรัฐกิจ ส่วนในระดับปริญญาโทขึ้นไปก็จะเน้นไปที่การเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร การบริการจัดการสาธารณะ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความต่างของคณะรัฐศาสตร์ VS รัฐประศาสนศาสตร์
- รัฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของรัฐ อำนาจรัฐ โครงสร้างทางอำนาจ ความสัมพันธ์ทางอำนาจภายในรัฐ การเมืองการปกครอง การบริหารประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น
- รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในภาครัฐโดยบูรณาการความรู้จากหลายๆศาสตร์มาใช้ในการบริหารจัดการ ทั้งรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และสังคมศาสตร์อื่นๆ จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นสหวิทยาการสังคมศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะเรียกแตกต่างกัน เช่น คณะรัฐศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ โดยขึ้นอยู่กับการเน้นหนักในสาขาวิชาว่ามุ่งเน้นทางใดมากกว่ากัน แต่ทั้งรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ ต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก
สำหรับแนวโน้มปัจจุบัน รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หลายมหาวิทยาลัยจึงตั้งชื่อคณะว่า รัฐประศาสนศาสตร์ แทนที่จะใช้ว่า รัฐศาสตร์ หรือบางมหาวิทยาลัย รัฐประศาสนศาสตร์ ก็เป็นเพียงสาขาหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์ เช่นจุฬาฯ ส่วนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเรียกสาขาเดียวกันนี้ว่าบริหารรัฐกิจ
จบคณะรัฐศาสตร์ไปทำงานอะไร
ปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่การฑูต พนักงานคดีปกครอง โดยรัฐประศาสนศาสตร์ สามารถเลือกงานวิเคราะห์นโยบาย และแผนงานวิเคราะห์งบประมาณ งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือทำงานภาคเอกชนก็จะมีทางเลือกต่างๆมากกว่า หรือจะทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำงานเป็นนักการเมืองท้องถิ่น หรือข้าราชการประจำ เช่น ปลัด อบต. ปลัดเทศบาล นักวิชาการ ฯลฯ ถ้าสนใจบริหารรัฐกิจ ก็ทำงานในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เช่น งานวิเคราะห์ นโยบาย และแผนงานวิเคราะห์งบประมาณ งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ งานบริหารทั่วไป เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น